Cocktail Party Effect
Noted 04/01/2021 12.30
เวลาไปปาร์ตี้ที่คนเต็มงานไปหมด สังเกตว่าเราแทบจะไม่มีใครฟังใครพูดรู้เรื่องเลย เพราะเสียงเบสกีตาร์ที่ดังกระหึ่ม เสียงดีเจที่พูดแทรกตลอดเวลา เรียกว่าจะคุยกันแต่ละทีถ้าไม่ตะโกนใส่กันก็ต้องเอาหูเข้าไปใกล้ ๆ พร้อมถามว่า
“ หะ…ว่าอะไรนะ ไม่ได้ยินเลย?? ” ><
แต่แล้วถ้าเกิดจู่ ๆ ก็มีคนเรียกชื่อเราขึ้นมาในงานปาร์ตี้ ทั้ง ๆ ที่เค้าก็ไม่ได้ตะโกนเสียงดัง แต่เรากลับฟังชื่อของเราได้อย่างชัดเจน แถมหันไปมองได้ถูกคนเสียด้วย เอ๊ะ! ทำไมเป็นอย่างนั้นหล่ะ เกิดอะไรขึ้นกันนะ !!
เพราะนี่…คือกลไกลับสุดยอดของสมอง
เมื่อแต่ละวันเรานั้นต้องรับข้อมูลมหาศาล สมองจึงจำเป็นต้องมีระบบคัดกรองสิ่งที่จะเข้ามาหามัน โดยเลือกเปิดรับเฉพาะเรื่องราวที่คุ้นเคย หรือ เรื่องนั้นสำคัญและจำเป็นกับชีวิตเท่านั้น
มารู้จักกับปรากฏการณ์ Cocktail Party Effect 💃🕺🏾💃
ปรากฏการณ์นี้ถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยของคริสโตเฟอร์ โฮลด์กราฟ (Christopher Holdgraf) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ทำทดลองในผู้ป่วยลมบ้าหมู เกี่ยวกับกลไกการกรองเสียงของสมองเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเสียงดัง
ผลจากการทดลองทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่า… สมองของคนเรามีสามารถในการคัดกรองเสียงได้เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกโครมอย่างเช่น เมื่อเราอยู่ในงานปาร์ตี้ เป็นต้น โดยสมองจะเลือกปิดการรับฟังเสียงอื่น เมื่อได้ยินเรื่องราวอันคุ้นเคย หรือเสียงนั้นเป็นเสียงคุ้นหู ทำให้เราได้ยินคู่สนทนาคุยแม้จะอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังก็ตาม
นอกจากนี้สมองยังใช้ปรากฏการณ์ Cocktail Party Effect ในการคัดกรองข้อมูลที่คิดว่า “จำเป็นและสำคัญกับชีวิต” อีกด้วย คุณชิออน คาบาซาวะ จิตแพทย์ชาวญี่ปุ่น และเป็นผู้เขียนหนังสือ The power of output อันโด่งดังที่มียอดพิมพ์กว่า 530,000 เล่มในญี่ปุ่น ได้พูดถึงปรากฏการณ์นี้ไว้อย่างน่าสนใจ
สมองจะทำงานอย่างแข็งขัน และหันเหความสนใจไปที่จุดนั้น เมื่อเรามีการตั้งคำถามกับตัวเอง ก่อนที่จะลงมือ ทำสิ่งใด
ผลคือ เราสามารถที่จะจดจำเรื่องราวนั้น ๆ ได้มากขึ้น
การตั้งคำถามเปรียบเหมือนการเรียก Google ในสมอง
คุณคาบาซาวะเชื่อว่า เมื่อเรามีการตั้งคำถามสมองจะทำสิ่งที่เรียกว่า “สมาธิคัดสรร” ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการทำงานของ Google ที่จะเลือกเพียงคำค้นที่เราสนใจออกมาโชว์ในหน้าจอคอมพิวเตอร์
ดังนั้นในการจัดสัมมนาทุกครั้ง คุณคาบาซาวะจึงเลือกใช้วิธีการตั้งคำถามกับผู้เข้าร่วมงาน เช่น เราอยากเรียนรู้อะไรมากที่สุด ?? เพื่อให้เกิดสมาธิในระหว่างการรับฟังสัมมนา วิธีนี้ทำให้แต่ละคนก็จะเลือกสนใจเนื้อหาคนละส่วนกันไปตาม แต่สมองเลือกโฟกัส (จากหนังสือ The power of output, How to change learning to outcome, ชิออน คาบาซาวะ)
คุณคาบาซาวะยังเขียนทิ้งท้ายไว้ในบทที่พูดถึงปรากฏการณ์ Cocktail Party Effect ด้วยว่า หากอยากอย่างหนังสือให้สัมฤทธิ์ผล สามารถจดจำเรื่องราวในหนังสือได้ดี รวมถึงสามารถย่อยเนื้อหาและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
ขอให้ใช้เวลาก่อนเริ่มอ่านซัก 10 วินาที
ถามตัวเองถึงสิ่งที่ต้องการจะได้รับจากหนังสือเล่มนี้
*** คำถามจะเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะช่วยไขความลับของสมองเข้าไปสู่กลไกสมาธิชั้นเยี่ยม ที่รอการรวบรวมข้อมูลสำคัญและจำเป็น เพื่อที่จะเก็บบรรจุในห้องสมุดแห่งความจำของเราต่อไป เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรามาใช้ปรากฏการณ์ Cocktail party effect คัดสรรสิ่งที่จะเข้าไปในสมองเรากันค่ะ
Janjarat Piyapromdee (Vet and BA)
References
https://themomentum.co/happy-health-the-cocktail-party-effect/